Search for:
  • Home/
  • Sports News/
  • “ฉนวนกาซา” คือที่ไหน- บ้านหลังสุดท้ายหรือกรงขังชาวปาเลสไตน์

“ฉนวนกาซา” คือที่ไหน- บ้านหลังสุดท้ายหรือกรงขังชาวปาเลสไตน์

หากพูดถึงความขัดแย้งที่ดำเนินมานานหลายทศวรรษระหว่าง “อิสราเอล” กับ “ปาเลสไตน์” หนึ่งในคำที่มักจะถูกพูดถึงคือ “ฉนวนกาซา” (Gaza Strips) ซึ่งเป็นพื้นที่เล็ก ๆ ในอิสราเอลที่อยู่ในหน้าประวัติศาสตร์ความขัดแย้งนี้

ฉนวนกาซาเป็นพื้นที่ขนาดเพียง 365 ตารางกิโลเมตร เล็กกว่าจังหวัดสมุทรสงครามของไทยเสียอีก แต่กลับมีชาวปาเลสไตน์อาศัยอัดแน่นอยู่ในนั้นมากกว่า 2 ล้านคน!คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

“กลุ่มฮามาส” คือใคร? มีจุดประสงค์อะไรจึงต้องโจมตีอิสราเอล?

ยอดเสียชีวิตสงครามอิสราเอล-ฮามาส พุ่งทะลุ 1,100 คนแล้ว!

สหรัฐฯ ส่งเรือบรรทุกเครื่องบินรบ-อาวุธหนัก หนุนหลังอิสราเอล

ฉนวนกาซาคืออะไร?

ต้องย้อนกลับไปตั้งแต่ช่วงเวลาก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 จะอุบัติขึ้น ณ เวลานั้น กาซาเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมัน แต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดในปี 1918 กาซาก็ถูกปกครองโดยอังกฤษ

พื้นที่ของกาซา รวมถึงส่วนอื่น ๆ ที่เป็นอิสราเอลในปัจจุบัน โดยเฉพาะเยรูซาเล็ม เป็นถิ่นฐานเดิมที่ชาวอาหรับซึ่งเรียกตัวเองว่า “ชาวปาเลสไตน์” มาอาศัยอยู่ก่อนหน้าแล้ว และเรียกรวมว่าเป็นดินแดนปาเลสไตน์

กระทั่งในปี 1948 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ชาวยิวต้องการมาตั้งรกรากในดินแดนเยรูซาเล็ม เพราะเชื่อว่าเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ เป็นบ้านเกิดเมืองนอนของชาวยิว แต่ด้วยเหตุพลิกผันทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายไปยังพื้นที่อื่น เช่น อียิปต์ ยุโรป เปิดโอกาสให้ชาวปาเลสไตน์และชาวอาหรับอื่น ๆ เข้ามาปกครองพื้นที่แทน

เมื่อชาวยิวเข้ามาอาศัยอยู่ร่วมกับชาวปาเลสไตน์ ก็เกิดการกระทบกระทั่งกันในเรื่องของการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนนี้ โดยสหประชาชาติเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยข้อพิพาทดินแดนแห่งนี้ ด้วยการแบ่งพื้นที่ให้อิสราเอลและปาเลสไตน์คนละส่วนเพื่อตั้งรัฐเป็นของตนเอง ซึ่งหนึ่งในพื้นที่ที่แบ่งให้ปาเลสไตน์มีกาซารวมอยู่ด้วย

อย่างไรก็ตาม ปาเลสไตน์ไม่เห็นด้วยกับการแบ่งดินแดนเพราะถือว่าทั้งหมดเป็นดินแดนของตน แต่สถานการณ์ก็คุกรุ่นในปี 1948 เมื่ออังกฤษ ซึ่งเป็นผู้ปกครองดินแดนในขณะนั้น ได้เปิดทางให้ผู้นำชาวยิวประกาศตั้งประเทศอิสราเอลขึ้นมาได้สำเร็จ

ด้วยความไม่พอใจ ฝ่ายชาวปาเลสไตน์ที่จับมือกับชาติอาหรับอื่น ๆ จึงเข้าทำสงครามกับฝ่ายอิสราเอล เพื่อหวังปลดปล่อยดินแดน แต่ชัยชนะตกเป็นของอิสราเอล ซึ่งสามารถรุกกลับและยึดดินแดนของอาหรับมาได้ด้วย จนต้องมีการลงนามในข้อตกลงสงบศึก

ผลจากสงครามครั้งนั้นทำให้ปาเลสไตน์เสียพื้นที่บางส่วนที่สหประชาชาติแบ่งให้ หนึ่งในพื้นที่ดังกล่าวคือ กาซา ซึ่งหลังจากสงครามปี 1984 สิ้นสุดลง กาซาได้ถูกกำหนดให้เป็นเขตกันชนระหว่างอียิปต์และอิสราเอล จึงเรียกว่า ฉนวนกาซา นับแต่นั้นมา โดยให้อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลออลปาเลสไตน์ภายใต้สหพันธ์อาหรับ (Arab League)

ฉนวนกาซานนั้น มีความยาว 41 กิโลเมตร กว้างเพียง 10 กิโลเมตร รวมพื้นที่ราว 365 ตารางกิโลเมตร โดยทางตะวันตกเฉียงใต้ติดกับอียิปต์ ทางเหนือและตะวันออกติดกับประเทศอิสราเอล และทางตะวันตกติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

ต่อมาฉนวนกาซาได้เข้าไปอยู่ภายใต้การดูแลของอียิปต์ แต่อียิปต์ไม่เคยผนวกรวมเอาดินแดนส่วนนี้เป็นของตน กระทั่งในปี 1967 ชาติอาหรับบุกอิสราเอลอีกครั้ง แต่ก็ประสบความกับความพ่ายแพ่เช่นเดิม ในเวลาสั้น ๆ เพียง 6 วันเท่านั้น จึงเรียกกันว่า “สงคราม 6 วัน” ซึ่งทำให้ชาติอาหรับสูญเสียพื้นที่ไปมากกว่าเดิม รวมถึงฉนวนกาซา ที่ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอิสราเอลด้วย

บ้านและกรงขังของชาวปาเลสไตน์

หลังจากที่อิสราเอลยึดฉนวนกาซาไปได้ ก็ได้เกิดองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO) ที่นำโดย ยัสเซอร์ อาราฟัต ซึ่งต่อสู้เพื่อเอาดินแดนปาเลสไตน์คืน

จนในปี 1993 ยิตซัก ราบิน นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ซึ่งเชื่อมั่นว่าแนวทางการทูตน่าจะเป็นหนทางออกของความขัดแย้งที่ยืดเยื้อนี้ ได้จับมือกับ ยัสเซอร์ อาราฟัต ผู้นำกลุ่ม PLO ลงนามข้อตกลงออสโล โดยหนึ่งในข้อตกลงคือ อิสราเอลอนุญาตให้ชาวปาเลสไตน์มีอำนาจในการปกครองตัวเองอย่างจำกัดในเขตฉนวนกาซาและเวสต์แบงก์

แต่ข้อตกลงดังกล่าวทำให้ชาวปาเลสไตน์บางกลุ่มไม่พอใจ โดยเฉพาะ “กลุ่มฮามาส” ซึ่งยังคงต้องการเดินหน้าในการปลดปล่อยดินแดนปาเลสไตน์ และมองว่า ข้อตกลงที่ PLO ทำกับอิสราเอลนั้น เป็นการประนีประนอมเกินไป

กลุ่มฮามาสกับกลุ่ม PLO จึงเกิดการแข่งขันทางการเมือง แย่งสิทธิในการปกครองฉนวนกาซา ในที่สุดปี 2006 พรรคฮามาสคว้าที่นั่งในสภาได้มากกว่า และกลายเป็นกลุ่มที่มีอำนาจปกครองฉนวนกาซามานับตั้งแต่นั้น

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ฮามาส ซึ่งต่อต้านอิสราเอล เข้ามาแทนที่ PLO ซึ่งประนีประนอมกว่า ก็ทำให้อิสราเอลไม่พอใจ และสั่งให้ฉนวนกาซาเป็น “พื้นที่ภายใต้การปิดล้อมทางบก ทางน้ำ และทางอากาศเต็มรูปแบบ”

มาตรการดังกล่าวทำให้ผู้คนและสินค้าไม่สามารถเข้าหรือออกจากเขตฉนวนกาซาได้อย่างอิสระ ประกอบกับฉนวนกาซาแทบไม่มีอุตสาหกรรมเลย และประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เชื้อเพลิง และไฟฟ้า รวมถึงประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรว่างงาน และมากกว่า 2 ใน 3 ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือด้านการพัฒนา ส่งผลให้พื้นที่ดังกล่าวมักถูกเรียกว่า “เรือนจำกลางแจ้ง”

ด้วยเหตุนี้ ฉนวนกาซาจึงเป็นเหมือนทั้งบ้านของชาวปาเลสไตน์ ในดินแดนที่พวกเขาเคยอยู่ แต่ในขณะเดียวกัน พื้นที่เล็ก ๆ นี้ก็เปรียบเสมือนกรงที่คุมขังชาวปาเลสไตน์ไว้ ไม่ได้ออกไปเห็นโลกข้างนอก และเห็นแต่เพียงการต่อสู้ที่ไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อไร ซึ่งนำพาแต่ความสูญเสียมาสู่พวกเขาเท่านั้น

 “ฉนวนกาซา” คือที่ไหน- บ้านหลังสุดท้ายหรือกรงขังชาวปาเลสไตน์

เรียบเรียงจาก Al Jazeera / CNN

ภาพจาก

RONALDO SCHEMIDT / AFP

Ahmed ZAKOUT / AFP

“กลุ่มฮามาส” คือใคร? มีจุดประสงค์อะไรจึงต้องโจมตีอิสราเอล?

สภาพอากาศวันนี้ ฝนถล่ม 54 พื้นที่ เหนือ-อีสาน ฝนตกหนักถึงหนักมาก!

เปิดปฏิทินวันหยุดตุลาคม 2566 เช็กวันหยุดราชการ-วันสำคัญ